จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562

ไอเดียปลูกผักต่างๆ

ไอเดียปลูกผักต่างๆ



ไอเดียปลูกผักต่างๆ
      รวมไอเดียปลูกผักต่างๆ ที่สามารถปลูกในพื้นที่บ้านได้ โดยเฉพาะผักสวนครัวที่นิยมเอามาทำอาหารต่างๆ มีทั้งแบบเป็นแปลง ลงดินหรือเป็นซุ้มผักไม้เลื้อยต่างๆ เอาไว้ให้เพื่อนชมเป็นไอเดียในการปลูกผักของเพื่อนๆ ครับ #ผักสวนครัว #ไม้ไผ่ #ปลูกผัก #ผักสวนครัว Pic cr. pinterest.com ______________________________ www.iHome108.com ร้อยแปดไอเดียแต่งบ้าน
   
  
  
   

16 วิธีทำบุญโดยไม่ต้องไปวัด

16 วิธีทำบุญโดยไม่ต้องไปวัด

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 16 วิธีทำบุญโดยไม่ต้องไปวัด

16 วิธีทำบุญโดยไม่ต้องไปวัด

    โดยปกคิแล้วหากเราทำบุญต่างๆเรามักไปทำบุญที่วัด แต่ก้ยังมีวิธีทำบุญอื่นๆอีกหลายวิธีที่เราสามารถทำได้

1. ดูแลพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ที่อยู่ในบ้านให้มีความสุข อย่าให้ท่านเดือดร้อนใจหรือเป็นทุกข์

2. ตักบาตรตอนเช้าก่อนไปทำงาน

3. สวดมนต์วันละ 1 บท

4. ถวายน้ำเปล่า 1 แก้ว หรือ พวงมาลัยให้พระพุทธรูปในบ้าน

5. นั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที

6. ไม่กินเนื้อสัตว์

7. สั่งสอนเรื่องธรรมะ

8. ทำบุญกับพระสงฆ์ที่พบระหว่างการเดินทาง

9. ถ้าทราบว่าใครเดือดร้อนเรื่องใดๆก็ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ

10. ให้คำแนะนำดีๆกับผู้ที่มีความทุกข์

11. ช่วยเหลือคนที่เอาของมาขายกับเรา

12. ดูแลสัตวืเลี้ยงที่บ้านเป็นอย่างดี

13. จาน ชาม กินเสร็จแล้วล้างทันที

14.  ถือศีล 5

15. ให้อภัยในสิ่งที่เขามาว่าเราไม่ว่าเรื่องใดๆก็ตาม

16. สิ่งของที่ไม่ใช้ก็ให้คนอื่นไปใช้ประโยชน์

ครั้งหนึ่งในชีวิต ...เมื่อ"สามัญชน"ได้เข้าเฝ้าฯ"ในหลวง"

ครั้งหนึ่งในชีวิต ...เมื่อ"สามัญชน"ได้เข้าเฝ้าฯ"ในหลวง"

ในฐานะประชาชนชาวไทย การได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับเป็นความฝันอันสูงสุดของชีวิต แม้ดูเป็นความฝันที่ไกลเกินเอื้อม หลายคนจึงทำได้เพียงอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ไปติดบนฝาบ้านเพื่อเทิดทูน บ้างเดินทางนับร้อยพันกิโลเมตรมาลงนามถวายพระพร
อ่านเพิ่มเติมที่  http://www.posttoday.com/analysis/report/460365

การเตรียมบ่อหรือสถานที่เลี้ยงกุ้งก้ามแดง




น้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งก้ามแดง
     น้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งก้ามแดงอาจจะเป็นน้ําดื่ม น้ำบาดาล น้ำประปา ก็ได้ ถ้าเป้นน้ำประปาควรมีการพักน้ำเสียก่อน คือการเปิดน้ําทิ้งไว้ สัก 5-7 วันเพื่อที่จะให้ คลอรีนเจอจางไปเสียก่อน เพราะกุ้งก้ามแดงเป็นกุ้งที่ไวต่อสารเคมี ถ้ามีสารเคมีเพียงนิดเดียวก็สามารถทําให้ตายได้การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงนั้น สามารถเลี้ยงได้ ทั้งในบ่อดิน บ่อปูน กะละมัง ถัง ตู้กระจก บ่อผ้าใบ บ่อพลาสติก ในขวด ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแต่ละท่าน ซึ่งจะสามารถเตรียมได้เป็น 3 กรณี

1. บ่อดิน บ่อดินเป็นบ่อเลี้ยงที่ใช้พื้นที่มาก จึงต้องเตรียม บ่อให้ดี เริ่มได้จาก
- ขั้นตอนแรกควรจัดการกับศัตรูของลูกกุ้งให้ดีเช่น ปลา ปู หอย เป็นต้น ห้ามมีเป็นอันขาดไม่งั้นอาจจะเกิดการสูญเสียได้
- ขั้นตอนต่อไปอาจจะปูขอบบ่อด้วยพลาสติกกันน้ํากัดเซาะ
- ล้อมขอบบ่อด้วยตาข่ายเพื่อกันกุ้งหลบหนี
- ปล่อยน้ําเข้าไปพร้อมใส่พวกสถานที่หลบให้กุ้งเช่นก้านมะพร้าว ท่อ PVC ขวดน้ําพลาสติกตัดหัวท้าย ใส่ลงไปเยอะๆเลย ยิ่งรก ยิ่งรอดพร้อมปล่อยกุ้งลงเลี้ยงได้เลย
*** บ่อดินไม่ต้องเปลี่ยนน้ํา สามารถเลี้ยงไปตลอดจนจับขาย แต่จะได้เติมน้ําเข้าอยู่ตลอดเพราะน้ํามีการระเหย
 
 
 
2. บ่อปูน (กลม),บ่อที่ทําจากซีเมนเป็นบ่อเลี้ยงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะทนทานใช้พื้นที่ไม่มากนักง่ายต่อการเก็บผลผลิต แต่วิธีการเตรียมบ่อก่อนเลี้ยงกุ้งนั้นใช้ระยะเวลานานพอสมควร เนื่องจากปูนมีฤทธิ์เป็นด้างแก่ จึงไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้
- ขั้นตอนแรกควรปิดรอยรั่วบริเวณข้อต่อเสียก่อน
- จากนั้น เติมน้ําให้เต็มบ่อ พร้อมกับใส่ต้นกล้วยลงไป
- ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน ถ้าสังเกตเห็นลูกน้ําอยู่ในบ่อก็แปลว่าบ่อนั้นใช้เลี้ยงกุ้งได้แล้ว
***ข้อควรระวัง บ่อปูน เมื่อระยะเวลาผ่านไป ปูนจะคลายความเป็นด่างออกมาเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นควรเปลี่ยนน้ําใหม่ทุกๆ 7-10 วัน 
 
 
 
***ข้อควรระวังควรปิดปากบ่อให้ดี มิเช่นนั้นกุ้งจะสามารถปินออกได้***
 
 
 
- หรืออีกวิธีคือ ใช้น้ําส้มสายชู เติมลงไป ทิ้งไว้ 2-3 วัน แล้วเปลี่ยนน้ําออก แล้วเติมน้ําใหม่เข้า วัดค่า ph ถ้าอยู่ในช่วง 7.5-8.5 ก็ถือว่าใช้ได้
 
 

ตัวอย่างแนวทางการเลี้ยงกุ้งกล้ามแดง

 
เลี้ยงในกระชัง
 
 
เลี้ยงในนาข้าว
 
เลี้ยงในขวด
 
 
 
     สําหรับพื้นที่ที่ดินเก็บน้ําไม่อยู่ ขอแนะนําบ่อพลาสติกแล้วถมด้วยดิน โดยเริ่มจากขุดดินให้ลึกสัก 50-60 ซม.แล้วถมด้วยดิน ความลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วก็อาจจะใส่พืชน้ํา เช่น จอก แหน สาหร่าย ลงไปเพื่อช่วยในการบําบัดน้ําเสีย ก็ได้ เพียงเท่านี้ก็ คุณสมบัติของบ่อก็ใกล้เคียงกับบ่อดินแล้ว


ขับรถอย่างไรไม่ให้ตำรวจจับ 17 ข้อ กฎหมายจราจรทางบก เพื่อการขับขี่บนท้องถนน

ขับรถอย่างไรไม่ให้ตำรวจจับ 17 ข้อ กฎหมายจราจรทางบก เพื่อการขับขี่บนท้องถนน



กฎหมายจราจร เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องรู้และจำให้ได้อย่างขึ้นใจ เพราะไม่มีเราเพียงคนเดียวใช้รถเพื่อสัญจรบนท้องถนน แต่ยังคงมีผู้อื่นที่ใช้รถเพื่อการสัญญาณเหมือนเราเช่นกัน ดังนั้นการรู้และจำข้อกฎหมายจราจรทางบกให้ได้ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ที่กำลังจะสอบใบขับขี่ละผู้ขับขี่มือใหม่ทั้งหลาย
กฎหมายจราจร

17 ข้อ กฎหมายจราจร เพื่อการขับขี่บนท้องถนน

  1. รถที่สามารถนำมาใช้ในทางเดินรถได้ จะต้องเป็นรถที่จดทะเบียนและเสียภาษีเรียบร้อยแล้วและต้องมีการติดแผ่นป้ายทะเบียนที่ทางราชการกำหนด มีอุปกรณ์ส่วนควบคุมครบถ้วน ตรงกันข้าม รถที่ห้ามนำมาใช้ในทางเดินรถ คือ รถที่ขาดต่อภาษี รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการกำหนด รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง และรถที่แจ้งเลิกใช้ตลอดไป เป็นต้น
  2. รถที่สามารถนำมาใช้ในการเดินรถได้ ต้องเป็นรถที่มีเสียงดังไม่เกิน 80 เดซิเบล ห้ามนำรถที่มีเสียงดังกว่าเกณฑ์มาใช้ในการเดินรถ และต้องเป็นรถที่ไม่มีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถหรือรถที่มีล้อไม่ใช่ยางมาใช้ในทางเดินรถ
  3. ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหน้าและไฟท้าย ให้รถคันอื่นเห็นในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
  4. ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย ยกเว้นกรณีที่ทางเดินรถทางด้านซ้ายมีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่จึงจะสามารถเดินรถทางขวาหรือล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
  5. ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าในระยะที่จะสามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อมีความจำเป็น (ไม่มีการกำหนดระยะห่างที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับสภาพความหนาแน่นของการจราจร สมรรถนะของรถ และความเร็วในการขับขี่)
  6. การหยุดรถบริเวณทางแยกผู้ขับขี่ต้องหยุดหลังเส้นแนวหยุดอย่างเคร่งครัด ห้ามล้ำเส้นแนวหยุดรถเป็นอันขาด
  7. เมื่อถึงทางรถไฟและมีรถไฟกำลังแล่นผ่าน ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร อย่าขับรถผ่านไปโดยเร็ว หรือให้เสียงสัญญาณแตรเตือนและขับผ่านไป และไม่จำเป็นต้องเปิดไฟฉุกเฉิน
  8. ก่อนเลี้ยวรถนั้น ต้องเข้าช่องทางที่จะเลี้ยวและเปิดไฟเลี้ยวก่อนเลี้ยวรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร เพื่อให้ผู้ขับตามหลังมาทราบ
  9. ในการให้สัญญาณไฟเลี้ยวเพื่อเลี้ยวรถนั้น จะต้องให้สัญญาณโดยให้ผู้ขับรถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
  10. ในระยะ 150 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน ผู้ขับขี่รถสามารถกลับรถได้ และจะต้องกลับรถโดยใช้ความระมัดระวังด้วย
  11. บริเวณทางร่วมทางแยกและมีเครื่องหมายห้ามกลับรถ แต่เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้กลับรถได้ ผู้ขับขี่ก็สามารถกลับรถได้ เนื่องจากผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณของเจ้าพนักงาน
  12. ผู้ขับขี่ที่ต้องการกลับรถ ต้องสังเกตป้ายจราจรที่อนุญาตให้กลับรถและเข้าช่องทางให้ถูกต้อง ห้ามกลับรถขณะเข้าช่องทางที่มีลูกศรบนพื้นถนนให้ตรงไป หรือ กลับรถที่บริเวณเส้นทแยงเหลือง
  13. บริเวณที่ห้ามแซง ได้แก่ บริเวณทางโค้งรัศมีแคบ ส่วนบริเวณที่ผู้ขับขี่สามารถแซงได้คือ บริเวณทางตรง ทางโล่ง ทางที่ปลอดภัย ทั้งนี้ต้องใช้ความระมัดระวังในขณะที่แซงด้วย
  14. บริเวณที่กฎหมายจราจรยอมให้ขับรถแซงรถคันอื่นก็สามารถขับแซงได้ เช่น ในกรณีที่ทางเดินรถด้านซ้ายมีสิ่งกีดขวาง หรือในระยะ 150 เมตร จากทางร่วมทางแยก หรือแซงด้านซ้ายในขณะที่มีรถรอเลี้ยวขวา หรือบนพื้นทางที่มีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้แซงได้
  15. การขับรถแซงคันหน้าต้องแซงด้านขวามือ ยกเว้นกรณีที่เมื่อรถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา ผู้ขับขี่จึงสามารถแซงด้านซ้ายมือได้
  16. ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นขณะที่มีหมอก ฝุ่น ฝน หรือควันจนไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร
  17. การจอดรถต้องจอดให้ห่างจากขอบทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร
*** กฎหมายจราจรที่ได้กล่าวมาทั้ง 17 ข้อ เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังคงมีข้อกฎหมายอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องและสำคัญสำหรับการใช้รถใช้ถนนอีกมากพอสมควร
 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  ได้รับหนังสือ “กฎหมายสามัญ ประจำบ้าน” ของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
 เห็นว่ามีประโยชน์สำหรับหรับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ จึงเอามารวมรวมในเว็ปนี้ เพื่อให้เพื่อนสมาชิกได้ศึกษากันครับ

1)   อำนาจจราจร (สรุปได้ดังนี้)
           - การขับรถตามท้องถนน แล้วเจอด่านตำรวจ หรือ มีตำรวจเรียกให้หยุด ก็เป็นหน้าที่ของเราผู้ขับต้องหยุดรถ และ อำนวจความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ
    หากมีคำสั้งให้หยุดรถแล้วไม่ปฎิบัติตาม โดยไม่มีเหตุผล หรือ ข้อ แก่ตัวที่เหมาะสม ก็อาจโดนโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    หากถึงขั้นพุ่งชนสิ่งกีดขวางแล้วหลบหนี ก็มักผิดกว่ากฎหมายจราจรธรรมดา เพราะถือเป็นการต่อสู้กับเจ้าพนักงาน อาจโดนโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท 
    หรือทั้งจำทั้งปรับ
   
            - โดยปกติหากจราจรพบเห็นรถที่สถาพไม่ถูกต้อง เช่นมีสภาพไม่มั่นคงแช็งแรงอาจเป็นอันตราย หรือไม่สวมหมวกกันน็อค ขับเร็วกว่ากฎหมายกำหนด 
     ตำรวจจราจรมีอำนาจสั้งให้หยุดรถได้
               
            - เมื่อพบด่านตรวจ หรือ เจ้าพนักงานจราจรเรียกให้หยุดรถ เราในฐานะพลเมืองดี ก็ควรปฎิบัติตามนั้น โดยตำรวจจราจรก็จะเข้ามาแจ้งเหตุที่ขอให้หยุดรถ 
     ซึ้งอาจเป็นการตรวจค้นตามปกติ หรือ อาจแจ้งข้อหาที่เราฝ่าฝืนกฎจราจร และขอตรวจใบขับขี่

2)   การยึดบัตรต่างๆของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

           -มีข้อถกเถียงกันมานาน แล้วว่าเมื่อตำรวจจับกุมผู้กระทำความผิด เช่นขับขี่จักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกกันน็อก หรือ ขับโดยไม่พกใบอนุญาติขัขขี่ 
      ตำรวจมีอำนาจยึดบัตรประชาชน บัตรเครดิต หรือ บัตรอื่นๆ (ไม่รวมถึงใบอนุญาตขับขี่) หรือการยึดกุญแจรถคันนั้นได้หรือไม่
              เมื่อลองสำรวจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายจราจรทางบก กฎหมายรถยนต์ กฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ปรากฎว่ามีมาตราใด 
     ให้อำนาจตำรวจจราจรยึดบัตรประชาชน หรือ บัตรอื่นๆได้ และยิ่งเป็นการยึดกุญแจ (ตำรวจยิ่งไม่มีอำนาจกระทำได้)

           -การยึดบัตรอื่นๆหรือกุญแจรถ โดยตำรวจอ้างว่าให้ไปชำระค่าปรับก่อนแล้วจะคืนรถให้ กรณีที่ได้รับใบสั้ง แล้วเอาใบเสร็จมาแสดง ก็จะคืนกุญแจและบัตรให้
      สำหรับคนมีเงิน ก็คงจะไปรีบจ่าย แต่ถ้าไม่มีเงิน  ก็คงต้องรอจนกว่าจะมี จากนั้นค่อยไปจ่ายและนำกุญแจรถ หรือ บัตรอื่นๆคืนภายหลัง 
      (เรื่องนี้ขอย่ำเลยว่า กฎหมายจราจรทางบก และ กฎหมายรถยนต์ ไม่ได้ให้อำนาจจราจรทำเช่นน้นได้)

           - หลักนิติรัฐซึ้งเป็นหลักพื้นฐานสำคัญของกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยรับรองไว้ โดยมุ่งคุ้มครองสิทธิของประชาชน โดยจำหน้าที่ของรัฐไม่สามารถใช้อำนาจก้าวล่วง
     มาจำกัดตัดสิทธิเสรีภาพประชาชนได้ ถ้าไม่มีกฎหมายระดับ พรบ.เขียนให้อำนาจไว้    ตัวอย่างเช่น
      การขับรถบนถนนโดยไม่พกใบอนุญาตขับขี่ แน่นอนเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ้งกฎหมายกำหนดโทษไว้ และ อำนาจเจ้าหน้าที่ไว้อย่าชัดเจน คือ ให้ออกใบสั่ง ให้ชำระภายในกำหนด
 (ไม่มีมาตราไหน ให้อำนาจยึดกุญแจ ยึดบัตรอื่นๆไว้ได้ ดั้งนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะกระทำเช่นนี้ไม่ได้)
     
           - บางท่านอาจเคยทำผิดกฎหมายจราจร เช่น ไม่สวมหมวกกันน็อค ฝ่าสัญญาณไฟแดง และถูกจับให้ไปเสียค่าปรับ บางท้องที่ถึงขนาดยึดกุญแจไว้ โดยมาเอาได้จนกว่าจะนำใบเสร็จมาแสดง
      จึงนำกุญแจกลับไปได้ (กรณีนี้ ถือว่า กระทำเกินกว่าอำนาจตามกฎหมาย) เพราะ  กฎหมายจราจร ให้อำนาจเพียงเขียนใบสั่งให้ไปชำระค่าปรับ หรือ อย่างมาก เรียกเก็บใบอนุญาต
      ขับขี่ไว้ชั่วคราว โดยต้องออกใบแทน ใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้นั้น

           
               -เมื่อได้ใบสั่ง ซึ้งโดยปกติต้องชำระภายใน 7 วัน หรืออาจชำระทางไปรษณีย์ธนาณัติก็ได้ กรณัชีถูกยึดใบขับขี่ ก็อาจใช้ใบรับแทนขับขี่ไปพลางก่อน แต่ไม่เกิน 7 วัน เมื่อชำระแล้ว
     ตำรวจก็จะคืนใบขับขี่ให้ ถ้าไม่ชำระตามกำหนด โดยไม่มีเหตุผลสมควร ท่านอาจโดนหมายเรียก หรือ ไม่สามารถจะต่อทะเบียนจนกว่าจะชำระให้ถูกต้องก่อน และอาจต้องโทษปรับเพิ่มขึ้นอีก

           -กรณีถูกยึดใบขับขี่ และออกใบสั้ง ท่านสามารถใช้ใบรับแทน ได้ภายใน 7 วัน หากเกิน 7 วันเมื่อไหร่ยังฝ่าฝืนขับรถ อาจมีความผิดเพิ่ม ข้อหาขับรถขณะถูกยึดใบขับขี่ ต้องระวางโษปรับไม่เกิน 2,000 บาท จากข้อหาเดิม 
    และกรณีได้ใบสั่ง และ โดนยึดใบขับขี่ แล้วท่าไปแจ้งทำใบอนุญาตใหม่ จากเดิมข้อหาเล็กๆ อาจเป็นการแจ้งความเท็จ มีโทษจำคุกสูงสุด ถึง 6 เดือน 
พรบ.จราจรทางบก ลักษณะที่ 18 
อำนาจของเจ้าพนักงานจราจร และพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 135 เพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจกำหนดให้บริเวณหรือ พื้นที่ใดที่เจ้าของที่ดินได้เปิดให้ประชาชนใช้ในการจราจรเป็นทางตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 136 ให้อธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่จะกำหนดและผ่านการอบรมตามหลักสูตรอาสาจราจร เพื่อให้ทำหน้าที่ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการอบรม รายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกอบรมหลักสูตรอาสาจราจรและหน้าที่ของอาสา จราจร ตลอดจนเครื่องแบบ เครื่องหมาย ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 137 ในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของอาสาจราจรตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อาสาจราจรเป็นเจ้า พนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 138 ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้น ทำให้ไม่ปลอดภัย หรือไม่สะดวกในการจราจรในอาณา บริเวณใด เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการได้ตามที่เห็นสมควรและจำเป็นเกี่ยว
กับการจราจร ในอาณาบริเวณนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรดังต่อไปนี้
(1) ห้ามรถทุกชนิดหรือบางชนิดหรือคนเดินเท้าเดินในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใด
(2) ห้ามหยุดหรือจอดรถในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใด
(3) ห้ามเลี้ยวรถ กลับรถ หรือถอยหลังรถ ในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใด
(4) กำหนดทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดให้รถเดินได้ทางเดียว ทั้งนี้ ชั่วระยะเวลาเท่าที่จำเป็น

มาตรา 139 ในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดที่เจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าถ้าได้ออกประกาศข้อบังคับหรือ ระเบียบเกี่ยวกับการจราจรแล้วจะเป็นการปลอดภัย และสะดวกในการจราจร ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจ
ออกประกาศข้อบังคับ หรือระเบียบดังต่อไปนี้

(1) ห้ามรถทุกชนิดหรือบางชนิดเดิน
(2) ห้ามหยุดหรือจอด
(3) ห้ามเลี้ยวรถ กลับรถ หรือถอยหลังรถ
(4) กำหนดให้รถเดินได้ทางเดียว
(5) กำหนดระยะเวลาจอดรถในทางแคบหรือที่คับขัน
(6) กำหนดอัตราความเร็วของรถในทางภายในอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
(7) กำหนดช่องหรือแนวทางเดินรถขึ้นและล่อง
(8) กำหนดทางเดินรถทางเอกและทางเดินรถทางโท
(9) กำหนดการจอดรถหรือที่จอดพักรถ
(10) กำหนดระเบียบการใช้ทางหรือช่องเดินรถสำหรับรถบางประเภท
(11) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้รถโรงเรียน
(12) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยาน
(13) ควบคุมขบวนแห่หรือการชุมนุมสาธารณะ
(14) ควบคุมหรือห้ามเลี้ยวรถในทางร่วมทางแยก
(15) ขีดเส้นหรือทำเครื่องหมายจราจรบนผิวทาง หรือติดตั้งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจร
(16) กำหนดระยะทางตอนใดให้ขับรถล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ได้
(17) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจอดรถที่ชำรุด หักพัง ตลอดจนรถที่ซ่อมแซมในทาง
(18) กำหนดระเบียบการข้ามทางของคนเดินเท้าบนทางที่ไม่มีทางข้าม
(19) กำหนดการใช้โคมไฟ
(20) กำหนดการใช้เสียงสัญญาณ
(21) กำหนดระเบียบการอนุญาตและการใช้รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางไม่ใช่ยาง

มาตรา 140(1) เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่ง พระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่า ปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา 157 ทวิ มาตรา 159 มาตรา 160 และมาตรา 160 ทวิ ห้ามมิให้ว่ากล่าวตัก เตือนหรือทำการเปรียบเทียบ ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้า หน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวน ภายในแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง
ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อ เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับ และผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ ครอบครองรถเป็นผู้กระทำผิดดังกล่าวเว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่
การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด

มาตรา 141(2) ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถซึ่งได้รับใบสั่งตามมาตรา 140 อาจเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสั่งหรือตามจำนวนที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ ในใบสั่งหรือสถานที่ที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในวัน เวลา ที่ระบุไว้ในใบสั่ง
(2) ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบสั่งโดยการส่งธนาณัติ หรือการส่งตั๋วแลกเงินของธนาคารโดยทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียน สั่งจ่ายให้แก่อธิบดีพร้อมด้วยสำเนาใบสั่งไปยังสถานที่ และภายในวัน เวลา ที่ระบุไว้ใน
ใบสั่งเมื่อผู้ได้รับใบสั่งได้ชำระค่าปรับครบถ้วนถูกต้องแล้วให้คดีเป็นอันเลิกกัน และในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้เรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้ให้เจ้าพนักงานจราจรหรือ
พนักงานสอบสวนรีบจัดส่งใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้คืนให้แก่ผู้ได้รับใบสั่งโดยเร็ว และให้ถือว่าใบรับการ ส่งธนาณัติ หรือใบรับการส่งตั๋วแลกเงินประกอบกับใบสั่งเป็นใบแทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นเวลาสิบวัน นับแต่วัน
ที่ส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินดังกล่าว วิธีการชำระค่าปรับโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและวิธีการส่งใบอนุญาต ขับขี่คืนให้แก่ผู้ได้รับใบสั่งให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 141 ทวิ(3) ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถซึ่งได้รับใบสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 141 ให้พนักงานสอบสวนม อำนาจดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่ทราบที่อยู่ของผู้ขับขี่หรือที่อยู่ของเจ้าของรถ ให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถ ให้มารายงานตัวที่พนักงานสอบสวนในกรณีดังกล่าว นี้ผู้ได้รับหมายเรียกต้องมารายงานตัวตามวัน เวลา และ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในหมายเรียก และให้พนักงานสอบ สวนดำเนินการเปรียบเทียบและว่ากล่าวตักเตือนผู้ได้รับหมายเรียกดังกล่าว
(2) ในกรณีที่ไม่อาจส่งหมายเรียกให้แก่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถได้ให้พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือไปยังนาย ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์และตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก เพื่อให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้มา ติดต่อขอชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้นไปรายงานตัวที่พนักงานสอบสวนตาม หมายเรียกถ้าผู้มาติดต่อขอชำระภาษีประจำปีเป็นเพียงตัวแทนของเจ้าของรถ ให้ผู้มาติดต่อแจ้งให้เจ้าของรถ
ทราบเพื่อไปรายงานตัวที่พนักงานสอบสวนตามหมายเรียกในกรณีดังกล่าวนี้ ให้นายทะเบียนงดรับชำระภาษีประจำปี สำหรับรถคันนั้นไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่าได้มีการปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นแล้ว การงดรับชำระภาษีประจำปีไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นไม่ต้องชำระเงินเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่า ด้วยการขนส่งทางบก แล้วแต่กรณี

มาตรา 142(1) เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ
(1) รถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6
(2) เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอันเกี่ยว กับรถนั้น ๆ (26)(2) ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อน ความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่
(3)ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ทดสอบ ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้ดำเนินการทดสอบได้ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณีเพื่อ ให้การทดสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว และเมื่อผู้นั้นยอมให้ทดสอบแล้ว เหตุผลการทดสอบปรากฏว่าไม่ได้ฝ่าฝืน มาตรา 43 (1) หรือ (2) ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที
(4)การทดสอบตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 143 ถ้าปรากฏว่าผู้ขับขี่นำรถที่มีสภาพไม่ถูกต้องตามมาตรา 6 ไปใช้ในทาง นอกจากจะต้องรับโทษตาม บทบัญญัตินั้น ๆ แล้ว เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ ซ่อมหรือแก้ไขรถให้ถูกต้อง

มาตรา 143 ทวิ(5)เจ้าพนักงานจราจร พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถเพื่อทำการ ตรวจสอบในเมื่อรถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 ทวิ และมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ระงับการ ใช้รถนั้นเป็นการชั่วคราว และให้เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ซ่อมหรือแก้ไขรถให้ถูกต้อง

มาตรา 144(6) เมื่อเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ได้ซ่อมหรือแก้ไขรถถูกต้องตามคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร พนักงานเจ้า หน้าที่ หรือผู้ตรวจการ ซึ่งสั่งตามมาตรา 143 หรือมาตรา 143 ทวิ แล้ว ให้นำรถไปให้เจ้าพนักงานจราจรหรือผู้ที่ อธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจตรวจรถตรวจรับรอง เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่จะนำรถออกใช้ในทางได้เมื่อได้รับใบตรวจรับรอง การตรวจรับรองรถตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 145(1) บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกจากความผิดที่กำหนดโทษไว้ในมาตรา 157 ทวิ มาตรา 159 มาตรา 160 และมาตรา 160 ทวิ ให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจเปรียบเทียบหรือว่ากล่าวตักเตือนได้ในกรณีที่ผู้ขับขี่ได้ขับรถชนหรือโดนคนเดินเท้า
ที่ข้ามทางนอกทางข้ามและอยู่ในระหว่างทางข้ามกับเครื่องหมาย จราจรแสดงเขตทางข้าม หรือที่ข้ามทางนอกทางข้ามโดยลอด ข้าม หรือผ่านสิ่งปิดกั้น หรือแผงปิดกั้นที่เจ้าพนักงาน จราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่นำมาวางหรือตั้งอยู่บนทางเท้าหรือกลางถนน เมื่อพนักงานสอบสวนมีเหตุผลอัน ควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาได้ใช้ความระมัดระวังตามความในมาตรา 32 แล้ว ให้พนักงานสอบสวนมี
อำนาจปล่อยตัวผู้ต้องหาไปชั่วคราวโดยไม่มีประกันได้ เมื่อผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องร้องขอ

มาตรา 146 เงินค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้รับในกรุงเทพมหานครหรือในจังหวัดใด หรือในท้องถิ่นที่ กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด ให้แบ่งให้แก่กรุงเทพมหานครหรือเทศบาลในจังหวัดนั้นเพื่อใช้ในการ
ดำเนินการเกี่ยวกับการจราจร ในอัตราร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินค่าปรับ หรือให้ตกเป็นของท้องถิ่นที่ กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดทั้งหมด